‘ตลาดซื้อขายนักเตะ‘ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของวงการฟุตบอล การซื้อขายนักเตะนั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องแค่เรื่องของการคว้าตัวนักเตะฝีเท้าดีมาเสริมทัพ หรือการปล่อยตัวนักเตะที่ไม่เข้ากับแท็กติกทีมเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการทำกำไรจากค่าตัวนักเตะด้วย ซึ่งมักจะเรียกกันในภาษาสนามบอลว่า ‘ค้าแข้ง’ นั่นเอง
UFAZEED เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ ตลาดซื้อขายนักเตะ อย่างครบถ้วน เพื่อให้แฟนบอลอย่างเราๆ ได้ติดตามความเคลื่อนไหวในตลาดนักเตะกันอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นข่าวลือการย้ายทีม ไปจนถึงรายละเอียดค่าตัวของดีลการซื้อขายต่างๆ แต่ที่มาที่ไปของตลาดซื้อขายนักเตะนั้นมีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เราจะพาย้อนกลับไปไขข้อข้องใจกัน
หากย้อนไปเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน ในยุคเริ่มต้นของวงการฟุตบอลอังกฤษซึ่งถือเป็นชาติแรกๆ ที่มีการแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นระบบ คำว่า ‘ตลาดซื้อขายนักเตะ’ ยังเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นหูเท่าไรนัก เนื่องจากในยุคสมัยนั้นนักฟุตบอลไม่สามารถย้ายสังกัดได้อย่างอิสระเหมือนในปัจจุบัน เช่น ไม่สามารถลงเล่นให้ทีมนี้ในวันนี้ และย้ายไปเป็นขุนพลของอีกทีมในสัปดาห์ถัดไปได้
ต่อมาในปี ค.ศ. 1885 ‘ระบบลงทะเบียนผู้เล่น’ หรือ Player Registration ก็ถูกนำมาใช้ โดยสมาคมฟุตบอลอังกฤษต้องการให้การแข่งขันมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และอยากให้นักเตะอยู่ภายใต้การควบคุม ระบบดังกล่าวจึงกำหนดให้นักเตะสามารถลงทะเบียนกับทีมใดทีมหนึ่งได้เพียงทีมเดียวในแต่ละฤดูกาลเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ยังคงมีช่องโหว่อยู่ เพราะถึงแม้ผู้เล่นจะลงทะเบียนกับสโมสรไปแล้ว แต่ก็มีผลเพียงแค่หนึ่งฤดูกาล และทุกอย่างจะเริ่มนับหนึ่งใหม่เมื่อเปิดฤดูกาลถัดไป นักเตะจึงยังคงสามารถย้ายไปอยู่กับสโมสรไหนก็ได้อย่างอิสระหากลงทะเบียนให้ทันก่อนเปิดซีซั่นใหม่
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในฤดูกาล 1893-94 สมาคมฟุตบอลอังกฤษจึงได้นำ “ระบบการรักษาและแลกเปลี่ยน” หรือ Retain and Transfer เข้ามาบังคับใช้ ซึ่งเป็นระบบที่ห้ามนักเตะย้ายสังกัดได้โดยอิสระอีกต่อไป แม้จะหมดสัญญากับต้นสังกัดเดิมไปแล้ว หากไม่ได้รับการอนุญาตจากสโมสรเจ้าของสัญญา
แต่ระบบ Retain and Transfer ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างเต็มที่นัก เพราะหากนักเตะไม่ต่อสัญญา ก็จะไม่มีสิทธิ์ย้ายทีมได้เลย และในทางกลับกัน ถ้าสโมสรไม่ยอมให้ย้ายทีม บวกกับไม่ต่อสัญญาใหม่ ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเหนื่อยให้นักเตะอีกต่อไป ในขณะที่ตัวนักเตะเองก็ไม่สามารถไปเล่นให้ทีมไหนได้เลย
โดยมี จอห์น เรย์โนลด์ และ วิลลี โกรฟส์ เป็นสองแข้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการย้ายทีมพ่วงด้วยค่าตัว เมื่อทั้งคู่ย้ายจาก เวสต์บรอมวิช อัลเบียน ไปอยู่กับ แอสตัน วิลล่า ด้วยค่าตัว 50 และ 100 ปอนด์ ตามลำดับ ในปี ค.ศ. 1893
ระบบ Retain and Transfer ได้สร้างประโยชน์ให้กับเหล่าสโมสรไม่น้อย เพราะไม่ต้องกังวลว่าจะเสียนักเตะไปแบบไร้ค่าตัว อีกทั้งยังช่วยให้การแข่งขันในลีกเติบโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากไม่มีทีมใดครองความได้เปรียบเหนือคู่แข่งมากจนเกินไป
แต่ในทางกลับกัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเหล่านักเตะนั้นมหาศาล พวกเขาเสมือนถูกมัดมือชกด้วยระบบและเพดานค่าเหนื่อยที่สมาคมฟุตบอลกำหนดขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถเรียกร้องค่าแรงที่สูงขึ้นได้แม้จะทำผลงานได้ดีเพียงใด ท่ามกลางข้อจำกัดเหล่านี้ ใน ทศวรรษ 1960 นักเตะดังอย่าง จอห์น ชาร์ลส์ และ จิมมี่ กรีฟส์ จึงได้ตัดสินใจหันหลังให้ลีกในบ้านเกิด เพื่อย้ายไปค้าแข้งในดินแดนต่างแดนที่ให้ค่าตอบแทนที่ดีกว่าอย่างอิตาลีกับ ยูเวนตุส และ เอซี มิลาน ช่วงเวลาดังกล่าว จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ที่ดึงความสนใจของผู้เล่นระดับแนวหน้าในอังกฤษให้หันไปโลดแล่นในต่างแดน เพราะพวกเขาไม่ต้องการถูกขีดกรอบด้วยระบบค่าเหนื่อยที่เป็นอยู่อีกต่อไป
กระทั่งในปี 1961 จอร์จ อีสต์แฮม ดาวเตะจาก นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ก็กลายเป็นอีกคนที่ปักธงต่อต้านระบบนี้อย่างจริงจัง เมื่อทำผลงานได้ยอดเยี่ยม แต่ทางสโมสรกลับไม่ยอมต่อสัญญา เนื่องจากเจ้าตัวขอขึ้นบัญชีย้ายทีม จนต้องเดินทางไปประกอบอาชีพขายจุกไม๊กก๊อกชั่วคราวเพื่อประทังชีวิต คดีความดังกล่าวจบลงในปี 1963 โดย อีสต์แฮม ได้รับชัยชนะในชั้นศาล ส่งผลให้สมาคมฟุตบอลต้องยอมยกเลิกทั้งระบบ Retain and Transfer และเพดานค่าเหนื่อยนักเตะในเวลาต่อมา เพราะถูกตีความว่าขัดแย้งต่อหลักสิทธิ์มนุษยชนนั่นเอง
จอร์จ อีสต์แฮม เป็นกองหน้าชาวอังกฤษ ที่ค้าแข้งอยู่กับ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ในปี 1960 เจ้าตัวได้ทำผลงานอย่างโดดเด่น ยิงไป 18 ประตูจากการลงเล่น 42 นัด จนต้นสังกัดพยายามต่อสัญญาฉบับใหม่ให้ แต่นักเตะกลับปฏิเสธและขอขึ้นบัญชีย้ายทีมแทน
อย่างไรก็ดี ด้วยกฎระเบียบใน ระบบ Retain and Transfer ที่ให้สิทธิ์สโมสรเป็นฝ่ายกุมชะตากรรมของผู้เล่นแต่เพียงผู้เดียว ทำให้ นิวคาสเซิล สามารถปฏิเสธการปล่อยตัว อีสต์แฮม ได้ พร้อมกับไม่จ่ายค่าเหนื่อยให้นับตั้งแต่นั้น
เมื่อสโมสรไม่ให้ย้าย และตัวเองก็ไม่มีรายได้จากการเป็นนักเตะ อีสต์แฮม จึงตัดสินใจไม่ลงเล่นให้ นิวคาสเซิล ตลอดทั้งฤดูกาล 1960-61 แล้วหันไปทำงานขายจุกไม๊กก๊อกกับครอบครัวแทนเพื่อเลี้ยงชีพ ก่อนจะฟ้องร้องสโมสรต่อศาลในเวลาต่อมา โดยมีสมาคมนักฟุตบอลอาชีพอังกฤษเป็นผู้ให้การสนับสนุน
แม้ นิวคาสเซิล จะยอมขายเขาให้กับ อาร์เซนอล ด้วยค่าตัว 47,000 ปอนด์ในปี 1961 แต่ อีสต์แฮม ก็ยังเดินหน้าสู้คดีต่อไป และในปี 1963 ศาลก็ตัดสินให้เขาเป็นฝ่ายชนะ โดยระบุว่า ระบบที่ให้สโมสรมีอำนาจเหนือนักเตะเพียงฝ่ายเดียวนั้นไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในเวลาต่อมา
สิ่งที่ จอร์จ อีสต์แฮม ทำนับเป็นการจุดกระแสต่อต้าน ระบบ Retain and Transfer อย่างจริงจัง แต่ที่จริงแล้วก่อนหน้านั้นก็เริ่มเห็นสัญญาณของความไม่พอใจจากผู้เล่นมาบ้างแล้ว เมื่อหลายคนหันไปค้าแข้งต่างแดนเสียดื้อๆ
เช่นในกรณีของ จอห์น ชาร์ลส์ ยอดกองหน้าทีมชาติเวลส์ ที่เลือกย้ายจาก ลีดส์ ยูไนเต็ด ไปอยู่กับ ยูเวนตุส ในปี 1957 และ จิมมี่ กรีฟส์ หัวหอก เชลซี ที่ตัดสินใจซบ เอซี มิลาน เมื่อปี 1961
เพราะการค้าแข้งในต่างประเทศ ทำให้พวกเขาได้รับค่าเหนื่อยที่สูงขึ้นกว่าเดิมอย่างมหาศาล แถมยังมีอิสระในการเลือกต้นสังกัดได้ตามใจ จึงดึงดูดใจนักเตะฝีเท้าดีในเกาะอังกฤษไม่น้อย
นอกจากปัญหาเรื่อง ระบบ Retain and Transfer ที่ล็อคสิทธิ์การย้ายทีมของนักเตะแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่ถูกโจมตีอย่างหนักในช่วงเวลาใกล้เคียงกันก็คือ “เพดานค่าเหนื่อย” ที่สมาคมฟุตบอลอังกฤษกำหนดขึ้นมา
จุดประสงค์ของการมีเพดานค่าเหนื่อยก็เพื่อให้สโมสรสามารถควบคุมรายจ่ายได้ และทำให้การแข่งขันมีความสมดุลยิ่งขึ้น แต่ผลเสียที่เกิดขึ้นคือ ผู้เล่นไม่สามารถเรียกร้องค่าเหนื่อยเพิ่มเติมได้เลย แม้ว่าจะทำผลงานได้ดีเพียงใดก็ตาม ประเด็นนี้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนที่ทำให้ สมาคมนักฟุตบอลอาชีพอังกฤษ หรือ PFA ต้องออกมาเรียกร้อง จนในที่สุดวันที่ 18 มกราคม 1961 เพดานค่าเหนื่อยนักเตะในลีกผู้ดีก็ถูกยกเลิกไปในที่สุด หลังจากมีมาอย่างยาวนานกว่า 60 ปี
อย่างไรก็ดี การยกเลิกดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบมากนักในทันที เนื่องจากตอนนั้น ระบบ Retain and Transfer ยังคงมีอยู่ แต่มันก็ถือเป็นการปูทางสำคัญ ที่ทำให้สิทธิของนักเตะในการต่อรองค่าเหนื่อยดีขึ้นกว่าเดิม และเมื่อมาประกอบกับคำตัดสินในคดีของ จอร์จ อีสต์แฮม ที่ออกมาในปี 1963 ระบบที่ใช้มาอย่างยาวนานในอังกฤษก็เริ่มถูกสั่นคลอนเข้าให้แล้ว ก่อนจะล่มสลายไปอย่างสิ้นเชิงในเวลาต่อมา จากฝีมือของนักฟุตบอลชาวเบลเยียมคนหนึ่ง
ฌอง มาร์ค บอสแมน คือกองหลังวัย 25 ปี ที่ค้าแข้งอยู่กับ อาร์เอฟซี ลีแอช สโมสรในลีกสูงสุดของเบลเยียมในขณะนั้น แต่ตลอดสองปีที่เป็นขุนพลของทีม เจ้าตัวกลับได้รับโอกาสลงเล่นอย่างจำกัด เพียง 3 เกมเท่านั้น
เมื่อสัญญากับ ลีแอช กำลังจะหมดลง บอสแมน จึงเริ่มมองหาต้นสังกัดใหม่ และได้รับข้อเสนอจาก ดันเคิร์ก ทีมในลีกรองฝรั่งเศส แต่อุปสรรคสำคัญที่เกิดขึ้นคือ ลีแอช ไม่ยอมปล่อยตัวนักเตะ แม้สัญญาของเขาจะหมดลงแล้วก็ตาม
ลีแอช ได้เรียกร้องค่าตัวจาก ดันเคิร์ก ถึง 500,000 ปอนด์ เพื่อแลกกับการปล่อยนักเตะ ทำให้ ดันเคิร์ก ต้องถอนตัวจากดีลนี้ไปในที่สุด ด้วยเหตุนี้ บอสแมน จึงต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่แสนลำบาก เมื่อถูกแบนจากสโมสรเจ้าของสัญญา และถูกลดค่าเหนื่อย 75% จนเหลือเพียง 500 ปอนด์ต่อเดือนเท่านั้น
แม้หลังจากนั้น บอสแมน จะได้ย้ายไปเล่นกับสโมสรอื่นแทนตามที่ต้องการ แต่ก็เป็นได้เพียงทีมในระดับมือสมัครเล่นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เขาจึงตัดสินฟ้องร้องทั้ง อาร์เอฟซี ลีแอช และ สมาพันธ์ฟุตบอลยุโรป (UEFA) โดยอ้างถึงสนธิสัญญาแห่งกรุงโรม ปี 1957 ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของ สหภาพยุโรป (EU) ในเรื่องของเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายของแรงงาน
หลังการต่อสู้ทางกฎหมายอย่างยาวนานกว่า 5 ปี ซึ่งทำให้ บอสแมน ต้องเผชิญทั้งปัญหาทางการเงินจนเกือบล้มละลาย และยังหย่าร้างกับภรรยาอีกด้วย ในวันที่ 15 ธันวาคม 1995 ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป (European Court of Justice) ก็ได้ตัดสินให้ บอสแมน เป็นฝ่ายชนะคดีในที่สุด
ผลของคำตัดสินครั้งนี้ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการฟุตบอลยุโรป เมื่อนักเตะจะสามารถย้ายสังกัดได้แบบไม่มีค่าตัว เมื่อหมดสัญญากับต้นสังกัดเดิมแล้ว โดยที่สโมสรเจ้าของสัญญาไม่สามารถเรียกร้องค่าตัวได้อีกต่อไป หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ “กฎบอสแมน”
นอกจากนี้ คำตัดสินยังระบุด้วยว่า การจำกัดโควต้าผู้เล่นต่างชาติของแต่ละสโมสรถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เพราะขัดกับหลักการเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายแรงงานเช่นกัน จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เปิดทางให้นักเตะสามารถย้ายไปค้าแข้งยังประเทศอื่นในทวีปยุโรปได้อย่างเสรีในเวลาต่อมา
การเกิดขึ้นของ “กฎบอสแมน” ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อวงการฟุตบอล เพราะมันทำให้อำนาจต่อรองเปลี่ยนมาอยู่ในมือนักเตะมากขึ้น แทนที่จะผูกขาดโดยสโมสรเพียงฝ่ายเดียว
“กฎบอสแมน” ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่นำไปสู่ยุคทองของนักเตะ ที่พวกเขาสามารถเรียกร้องค่าเหนื่อยได้สูงขึ้น แถมยังมีอิสระในการเลือกต้นสังกัดใหม่ได้เต็มที่ เมื่อหมดสัญญาจากทีมเดิมแล้ว โดยไม่มีค่าตัวมาเกี่ยวข้อง
นอกจากนั้น การตีความว่าการจำกัดโควต้าต่างชาติเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้นักเตะสามารถย้ายไปเล่นในลีกอื่นได้อย่างเสรี ซึ่งทำให้ผู้เล่นชั้นยอดทั่วโลก ต่างเดินทางมาค้าแข้งในลีกชั้นนำของทวีปยุโรปกันมากขึ้นเรื่อยๆ
อีกทั้ง “กฎบอสแมน” ยังมีส่วนผลักดันให้อุตสาหกรรมฟุตบอลเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อมีเม็ดเงินเข้ามาสู่วงการกันอย่างมหาศาล ผ่านทั้งรายได้จากค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด การสปอนเซอร์ การขายสินค้าที่ระลึก รวมไปถึงกระแสเงินจากผู้ทุนที่หลั่งไหลเข้ามาลงทุนกับสโมสรต่างๆ มากขึ้นด้วย
แม้บางครั้ง ผลกระทบของ “กฎบอสแมน” อาจถูกมองเป็นด้านลบว่าเป็นต้นเหตุให้ค่าตัวนักเตะเฟ้อฟูจนสุดโต่ง แต่เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า มันเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการฟุตบอลยุคใหม่ ที่ทำให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างนักเตะกับสโมสร และการเคลื่อนย้ายนักเตะข้ามประเทศก็เกิดขึ้นได้อย่างเสรีมากขึ้นนับจากนั้นมา